Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

SCGP ประกาศผลงาน Q1 เติบโต รายได้การขาย 32,209 ล. ดันกำไร 900 ล.

SCGP ประกาศผลงาน Q1 เติบโต รายได้การขาย 32,209 ล. ดันกำไร 900 ล.
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-29

รุกตลาดในประเทศกลุ่มอาเซียน-เสริมพอร์ตสินค้าอุปโภคบริโภค-บริหารต้นทุน ชูแผนปรับตัวไวรับมาตรการภาษี

SCGP ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2568 รายได้จากการขาย 32,209 ล้านบาท EBITDA 4,232 ล้านบาท และกำไรสำหรับงวด 900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน รับแรงหนุนจากกลยุทธ์ปรับตัวรวดเร็ว รุกตลาดอาเซียนรองรับดีมานด์ผู้บริโภคภายในประเทศ เดินหน้าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สร้างฐานผลิตหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยา เสริมประสิทธิภาพลดต้นทุนพลังงานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning พร้อมบริหารต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ เผยแผนรับมือนโยบายภาษี ใช้จุดแข็งเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค พอร์ตสินค้าหลากหลาย การส่งออกตลาดศักยภาพสูง บูรณาการการผลิตและวัตถุดิบอย่างยืดหยุ่น

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ภาพรวมในไตรมาสแรกของปี 2568 อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาเซียนเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเตรียมสินค้าก่อนถึงวันหยุดในไทยและอินโดนีเซีย การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าก่อนมาตรการภาษี อย่างไรก็ตาม ความต้องการบรรจุภัณฑ์บางส่วนในจีนและเวียดนามได้รับผลกระทบจากวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับความต้องการในสินค้าคงทนที่ชะลอตัวจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จำกัดมากขึ้น

SCGP มุ่งเน้นการขายภายในประเทศภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มสัดส่วนกลุ่มบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค รวมถึงปรับกลยุทธ์การส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ SCGP สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning รวมถึงการจัดการต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล (RCP) ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 มีรายได้จากการขาย 32,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มี EBITDA เท่ากับ 4,232 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมีกำไรสำหรับงวด 900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

 

 

ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 คาดว่าอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเติบโตจากนโยบายกระตุ้นภายในประเทศ โดยคาดว่า GDP จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 7 ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยที่ยังคงสูงกว่าภูมิภาคอื่น และความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์กลุ่มสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีนำเข้า สำหรับต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิลและค่าขนส่งมีแนวโน้มปรับขึ้นเล็กน้อยจากความต้องการในภูมิภาค ขณะที่ต้นทุนพลังงานมีแนวโน้มทรงตัว และมีความท้าทายจากภาคการส่งออกที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

สำหรับการรับมือจากมาตรการภาษี (Reciprocal Tariff) SCGP ได้เตรียมแผนเชิงรุก มุ่งปรับตัวรวดเร็ว สร้างความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันผ่านคุณภาพสินค้า ความร่วมมือ สร้างความเป็นเลิศด้านการตลาด (Marketing Excellence) เพื่อส่งมอบสินค้า บริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เตรียมแผนการใช้ประโยชน์จากฐานการผลิตที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงแผนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพสูง อีกทั้งยังมีการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และการจ้างผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนที่แข่งขันได้ เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในยุโรปตะวันออก

นอกจากนี้ ยังเดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตด้วยการมุ่งเน้นขยายตลาดในอาเซียน รวมถึงการเพิ่มโอกาสใหม่ในกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค เพื่อนำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร โดยได้ร่วมลงทุนในบริษัทโฮวะ แพ็คเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 25 กับ Howa Sangyo Company Limited เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเปียก ด้วยกำลังการผลิต 6,000 ตันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการผลิตในเดือนมิถุนายนปีนี้ และเดินหน้ากลยุทธ์การเติบโตในตลาด Healthcare Supplies ด้วยการผสานความร่วมมือกับ Once Medical Company Limited (Once) นำความเชี่ยวชาญมาผลิตหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยาที่บริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด (VEM-TH) ในประเทศไทย ด้วยงบลงทุนประมาณ 142.3 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม ปี 2569 ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้ากระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาของประเทศไทย และช่วยเพิ่มโอกาสการขายผ่านช่องทางของ Deltalab, S.L. ในประเทศสเปนด้วย

บริษัทฯ ได้มุ่งพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยสัดส่วนรายได้จากกลุ่มสินค้านวัตกรรมและโซลูชัน คิดเป็นร้อยละ 39 ของรายได้จากการขายรวมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37 ในปี 2567 และล่าสุด Paper Cutlery หรือนวัตกรรมช้อน ส้อม และมีด ที่ผลิตจากกระดาษ แบรนด์ “Fest by SCGP” ได้รับรางวัลชนะเลิศ THAIFEX-HOREC Innovation Awards จากเวที THAIFEX-HOREC Asia 2025 นอกจากนี้ SCGP ขับเคลื่อน ESG เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในไตรมาสแรก สามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นร้อยละ 42 จากร้อยละ 38 ในปีก่อน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้